5 อัลบั้มชั้นครู ที่ "Bedroom โปรดิวเซอร์"..ไม่ควรพลาด!!
สมมุติว่าคุณบังเอิญไปเจอ “เพลงเทพๆ” ที่พอฟังแล้ว ก็รู้ตัวเลยว่า ผลงานที่เรากำลังทำอยู่ ยังพยายามไม่เพียงพอ(นี่หว่า)!! วันนี้ผมมีอัลบั้มเจ๋งๆ "ที่ใช้ต้นทุนต่ำ..แต่คุณภาพสูง" ซึ่งเหมาะกับ Bedroom Producer ทั้งหลายมาฝากครับ..ลองฟัง..แล้วจะรู้ว่าบางครั้ง เราไม่จำเป็นต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือเท่าสตูดิโอใหญ่ แต่ก็สามารถผลิตผลงานที่ยอดเยี่ยมออกมาได้เหมือนกันนะครับ!! (Photo From Avanteur.com)
1. DJ Shadow - Endtroducing (1996) (Photo From Images1.laweekly.com)
เพลงนี้อยู่ในอัลบั้มเดบิวของ Josh Davis(หรือ a.k.a DJ Shadow) ที่เฮียแกนำเสนออารมณ์ฮิพฮอพในอีกรูปแบบหนึ่งครับ..ซึ่งโดยรวมอัลบั้มนี้ กลั่นกรองมาจากชีวิต Davis ที่เริ่มต้นมาทางสายนี้ (ประหนึ่งเป็นซาวด์แทร็กของชีวิตเฮียแก ก็ว่าได้) ในอัลบั้ม Endtroducing นั้น ซาวด์ Sample ที่เขาใช้ เป็นการรวบรวมแผ่นไวนีลเจ๋งๆ ที่ Davis ทุ่มเวลาคัดสรร ตามร้านแถวบ้าน..ประหนึ่งงมเพชรในตม อยู่นานเลยทีเดียว (ฟังแล้วบางคนอาจคิดว่าเขาขี้โม้) แต่ในสารคดี “Scratch”(2001) คุณจะเห็น กองไวนีลที่ว่าอยู่หลายๆตั้งเลยล่ะ..และนั้นก็เป็นเครื่องยืนยัน ถึงความทุ่กเทของเฮีย Shadow ได้อย่างดี!!
ในอัลบั้มยังเต็มไปด้วยซาวด์จากอุปกรณ์ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งเสียงร้องน้อยๆแบบมินิมอล และเสียงบทพูดตลกๆ Sample ทั้งหมดในช่วงนั้น ใช้เพียง Akai MPC60 ทำครับ..สมัยนั้นเฮีย Shadow ได้เพื่อนซี้อย่าง Dan Nakamura (โปรดิวเซอร์ของวง Gorillaz อัลบั้มแรก) มาเป็นที่ปรึกษาด้วยน่ะ..แถมฮิพสเตอร์กันมากๆ ทั้งสองหมกตัวผลิตผลงานกันบนห้องใต้เพดานของแม่ Nakamura เซทสตูดิโอ แบบทุนต่ำกันบนนั้น
2. Richie Hawtin/Plastikman - Closer (2003) (Photo From Musikaze.com)
ในทุกๆช่วงของปีนั้น Hawtin มักแปลงร่างเป็น Plastikman อยู่บ่อยๆ..เขาบอกว่าสไตล์ของร่างแปลงนี้ นอกจากจะ Minimal สุดๆแล้ว แถมยัง “Deep” มากๆด้วยซึ่งทำให้คุณคาดเดาออกด้วยว่า จะเจอกับเซอร์ไพร์เจ๋งๆอะไรอีก!!… ความสามารถเชิงฮาร์ดแวร์ของ Hawtin ก็ใช่ย่อยเช่นกันฮะ กับการใช้ Roland TB-303 และดรัมแมชชีน TR-909 ผสมผสานลงไปในเนื้องาน โดยทำงานควบคู่ไปกับ ซอฟท์แวร์ของ NI (หรือ Native Instruments ครับ) และถือเป็นธรรมเนียมไปแล้ว สำหรับ Richie Hawtin ที่เริ่มโปรเจค..เขาต้องหาเสียง Synth โดนๆก่อน อย่างเช่นการเลือกใช้ ปลั๊กอิน FM8 และโปรแกรมเครื่องดนตรีจาก NI ที่ขาดไม่ได้อีกชิ้นคือ Battery Drum Sampler สำหรับองค์ประกอบสำคัญอย่างเสียงกลองและ เครื่องเคาะอื่นๆ
ในอัลบั้มนี้ Richie Hawtin ยังลงทุนลงแรง..รับผิดชอบด้าน “Vocal” ด้วยเสียงตัวเองอีกนะ ช่วงนั้นทั้งเทคนิคมาเต็มทั้งเทคนิคใหม่ๆ อย่าง การกระชากเสียงต่ำ (Pitched-Down) และเทคนิคเก๋ๆอย่าง “กระแสสำนึก” (Stream of Consciousness) คือการถ่ายทอด กระแสอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด บวกทรงจำอันหลั่งไหลพรั่งพรูไปเรื่อยๆของตัวเอง โดยไม่เรียงลำดับและต่อเนื่องกันครับ... อย่างเช่นเพลง Ask Yourself ของอัลบั้ม Closer ก็เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับสไตล์ที่ว่าครับ..สิ่งสุดท้ายที่ทำให้เพลงนี้กลายเป็นอีกหนึ่งเพลงที่น่าจดจำก็คือ ความพยายามฟูมฟักทุกขั้นตอน รวมทั้งความสร้างสรรค์ในการนำเสนอนั่นเองครับ
(ว่ากันว่า..ช่วงเวลานั้น Hawtin อาศัยอยู่ที่มหานครนิวยอร์กครับ และคืนสุดท้ายก่อนที่เข้าจะย้ายออกจากเมือง ..เขาออกตระเวนรอบเกาะแมนฮัตตั้นพร้อมเครื่องบันทึกเสียง..เพื่อสร้าง “ห้องสมุดแห่งเสียง Ambient” ขึ้นมา..เพื่อเอามาใช้ในอัลบั้ม Closer โดยเฉพาะครับ!!)
3. Elbow - The Seldom Seen Kid (2008) (Photo From Theguardian.com)
เชื่อมั้ยว่า ตอนที่วงได้สังกัดค่ายและผลิตอัลบั้ม The Seldom Seen Kid นั้น ไม่มีโปรดิวเซอร์มืออาชีพ มาช่วยแม้แต่คนเดียว!!...แถมวงยังได้รางวัล UK Mercury Music Prize ในฐานะอัลบั้มแห่งปีอีกด้วย!! นี่คือตัวอย่างอันดีงาม ของวงอิเล็กทรอนิกส์ดนตรี สไตล์โมเดิร์น ทั้งเทคนิคต่างๆแบบดีไอวาย..ที่ Elbow ไว้ครีเอท Sound และ Texture อันโดดเด่นของพวกเขา
เบื้องหลังความสำเร็จทั้งหมดนี้..ต้องยกให้เป็นผลงานของ Craig Potter มือคีย์บอร์ดประจำวง..ที่เนรมิตเพลง ในสตูดิโอที่เครื่องไม้เครื่องมือ แบบมินิมอลโคตรๆ แถมยังทำงานด้วยซอฟแวร์ Pro Tools ที่อาศัยเพียงแค่ Mouse และ Keyboard เท่านั้นครับ.. แต่ก็พอที่จะสร้าง สีสันและ มิติของซาวด์ได้มากเกินตัวจริงๆ (ในยูทูป ยังไม่มีคลิปแบบ Full Album นะครับให้ลองรันไปตามลิสท์ดูก่อน..ลองฟังดูให้ครบครับ..รับประกันความฟิน)
4. The Prodigy - Always Outnumbered, Never Outgunned (2004) (Photo From Mitrofm.com)
หลังจากประสบความสำเร็จแบบสุดๆ กับอิเล็กทรอนิกส์อัลบั้ม The Fat Of The Land (1997) เฮีย Liam Howlett(คนขวาสุดในรูป) แห่ง The Prodigy ใช้เวลาหลังจากนั้นอีก 8 ปีเต็มๆ เพื่อผลิตอัลบั้มชิ้นถัดมา...(แม้ เราพยายามมองข้าม ในเรื่องจริงที่ว่าเขาพยายามออกอัลบั้มอีก 2 ปีหลังของ The Fat Of The Land ก็ตาม เพราะความพยายามที่ว่านั้น ประสบปัญหาเครื่องไม้เครื่องมือและตัวสตูดิโอซอฟแวร์ที่เฮียใช้ )
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม อัลบั้ม Always Outnumbered, Never Outgunned นำเสนอในสไตล์ Punk/Electronic ที่ทันสมัย..เรียกได้ว่าใส่ทุกอย่างที่เราชอบลงไปในนั้นเลยทีเดียว.. ตัวอย่างความสำเร็จจริงๆอยู่ที่ การยอมเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง ทั้งวิธีการและอุปกรณ์..แต่ยังเป็นโปรดิวเซอร์ Liam Howlett คนเดิม..คนนี้..นั่นเอง!! (ในยูทูปยังไม่มีใครปล่อยคลิป Full Album เช่นกันครับ)
5 Aphex Twin - Selected Ambient Works 85-92 (1992) (Photo From Antoniopaganophotography.com)
อัลบั้มนี้ ไม่ได้ให้แค่ความรู้เกี่ยวกับ Genre ดนตรีเท่านั้น..แต่มัน รวมอิเล็กทรอนิกส์มิวสิค..ทั้งยุคเลยก็ว่าได้!! การวาง “Ambient” โดยนำแบบฟอร์มของปู่ Brian Eno(นักดนตรีแนว Ambient ระดับตำนาน) มาต่อยอด...ทำให้ Richard D. James (หรือ a.k.a Aphex Twin) แม่นมากในเรื่องของ “Beat” และการใส่ “Glitch” ที่ถือเป็นสองส่วนสำคัญของดนตรีแนว Ambient และ IDM..ซึ่งความยอดเยี่ยมของผลงานนี้..คุณสามารถบอกได้ตั้งแต่วินาทีแรก ที่ฟัง Xtal แทร็กแรกของอัลบั้มเลยก็ว่าได้...แพทเทรินของดรัมแมชชิน ที่เรียบง่ายและล่องลอย..ประกอบกับเสียง Pad ที่กระหน่ำอย่างไม่หยุดยั้ง...ทั้งหมดนี้สามารถสร้างความประทับใจให้คนฟังได้ไม่ยากเลยครับ
ในช่วงเวลาที่อัลบั้ม Selected Ambient Works 85-92 ถูกปล่อยออกมานั้น ..สำหรับใครที่เริ่มสตารท์แบนด์ดนตรีของตัวเองใหม่ๆ อาจจะเหมือนถูกฝังรากของ จินตนาการที่ไม่มีจำกัด และรอให้มันเติบโตอยู่ในหัวของพวกเขา!! Aphex Twin สร้างสรรค์งาน IDM ที่เสพได้ง่ายและร่วมสมัย..บอกเลยว่า ถ้าคุณเป็นโปรดิวเซอร์มือใหม่ละก้อ ห้ามพลาดเลยจริงๆ..เพราะกว่า 18ปีแล้วที่อัลบั้มนี้สร้างอิทธิพลให้นักดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายครับ!!
เห็นได้ว่า ศิลปินแต่ละคนนั้น ต่างมีเทคนิคและการสร้างผลงานที่แตกต่างกันออกไป ตามอุปกรณ์..ความถนัด..บวกกับสไตล์ของการทำงาน เพราะฉะนั้น ไม่ว่าใครก็สามารถสร้างเพลงของตนเองได้แน่นอนครับ แค่เลือกทางที่เป็นเรามากที่สุดเท่านั้นเอง!! หรือถ้าใครยังไม่แน่ใจ ในทุกเทคนิคการทำ หรือต้องการศึกษาการโปรดิวซ์เพลงในรูปแบบต่างๆ ก็สามารถมาศึกษาเพิ่มเติมได้เลย กับคอร์ส Basic Producer ของทาง IN EAR BEAT ที่เราคัดสรร และย่อยทุกเทคนิค จนมีแต่เนื้อๆมาพร้อมเสริฟ ให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม กับแนวทางของทุกคนครับ
--- ข้อมูลจาก Getthatprosound.com เรียบเรียงโดย Choco Beat ---