top of page

10เคล็ดลับ ‘ยืดอายุ’ Mac คู่ชีพ!!


จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคอมพิวเตอร์ Mac Book อันแสนแพงของเรา..ที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบกันแทบตาย มีอันต้องเซย์กู๊ดบายจากเราไปอย่างรวดเร็ว..ยิ่งค่าซ่อมแต่ละทีก็เล่นเอานำ้ตาไหล แถมแอปเปิ้ลแคร์ที่เลือกว่าจะต่ออายุหรือไม่!? ก็ทำใจอยู่ตั้งนาน!! ที่แย่ที่สุดคืองานเพลง หรือเซ็ทดีเจที่ทำค้างไว้ ‘ดันสูญหายไปด้วยซะงั้น’!! วันนี้เพื่อนๆสายดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ มาเรียนรู้เคล็ดลับเบื้องต้น ‘ปกป้อง’ Mac ของคุณอย่างถูกวิธีกันดีกว่า!!

1.รู้จักเครื่อง Mac กันดีรึยัง? (Photo From Bungq.com)

สิ่งแรกที่เราควรจะต้องรู้จักเกี่ยวกับเครื่องของเราคร่าวๆก่อนครับ ‘Mac’ นั้นประกอบด้วยส่วนของเมนบอร์ด หน้าจอ คีย์บอร์ด และส่วนประกอบคอมโพแนนท์ตัวอื่นๆอยู่บนเมนบอร์ด ซึ่งบางส่วนสามารถซื้อมาเปลี่ยนได้เองเช่น เมาส์และคีย์บอร์ด แต่อุปกรณ์บางตัวที่มัน ‘ออนบอร์ด’ จะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมนะครับ (ในตอนที่เราซื้อเครื่องมาใหม่ๆ แอปเปิลจะมีออฟชั่นมาให้เราเลือกเปลี่ยนขนาดความจุ ‘Ram’ และ ‘Hard Disk’ ต่างๆได้)

ผมแนะนำว่า สำหรับเครื่องรุ่นใหม่ ให้เรา ‘เลือกใส่ Ram’ ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ครับ จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาอัพเกรด และเรื่องของ ‘การเลือก Hard Disk’ นั้นแนะนำว่าควรเลือก ประเภท ‘SSD’ ครับ เร็วและทำงานได้คล่องตัวกว่ามาก (เปรียบเทียบความเร็วในฮาร์ดดิสก์ แบบ SSD ซึ่งจะเร็วกว่า Apple Fusion Drive ครับ..ส่วน HDD แบบธรรมดา จะช้าสุด!!เรื่องความจุไม่ได้เป็นปัญหา เราสามารถเลือกซื้อ ‘External Hard Disk มาเสียบผ่านช่อง USB ของเครื่องได้ สิ่งที่ควรพิจารณานั้นคือเรื่องของ Drive ที่เก็บข้อมูลของ ‘APP’ และ ‘OS’ ดีกว่าครับ “ยิ่งเร็วยิ่งดี” (จะส่งผลต่อความเร็วของการส่งข้อมูลภายใน ที่เรียกว่า ‘Bus Speed’) ผลที่ได้คือ คุณจะใช้โปรแกรมต่างๆได้เสถียรมากขึ้นนั่นเอง!!

2.เคสกับกระเป๋า (Photo From Gadgetsin.com)

เราควรจะต้องหาเคส มาใส่อยู่เสมอนะครับเพื่อปกป้อง 'รอยขูดขีด' หรือการ 'ตกกระแทก'ของคอมพิวเตอร์..แม้เราจะมีรุ่น Aluminum Apple Macbook ที่ตัวเครื่องจะมีน้ำหนักเบาและวัสดุตัวเครื่องจะทนทานมากกว่ารุ่นอื่นๆ แต่ไม่ใช่ว่าจะพกไปไหนโดยไม่มีรอยนะครับ ก็ยังต้องหาเคสไว้เหมือนกัน และควรจะต้องมีกระเป๋า ที่เหมาะสมเอาไว้ใช้ในการเดินทางหรือทำงานนอกสถานที่ครับ

3.การชาร์จไฟเข้าเครื่อง (Photo From Thewheat.files.wordpress.com)

สิ่งที่เรามักจะ ‘เปลี่ยน’ กันบ่อยที่สุด นั่นคือเจ้า Power Supply ของ Mac (ซึ่งจะขาดง่ายไปไหน!?)

การดูแลรักษานั้นคือ ‘การจัดเก็บ’ ครับ..อย่าพยายามให้มีอะไรมาทับสาย ควรใช้งานผ่านปลั๊กสามตาที่มีระบบ ‘Surge Protection’ กันไฟกระชากก็จะยิ่งช่วยได้ครับ!! (ทางทีดี ถ้าไม่ใช่แล้วก็ควรดึงสายชาร์จออกด้วยนะครับ ไม่ควรเสียบค้างไว้)

แนะนำว่า ถ้าใครแพลนจะใช้เครื่องนานๆ ควรซื้อ ตัว PowerSupply กันไว้สองตัวไปเลย เนื่องจากบริษัทแอปเปิลมักจะชอบออก ‘หัวชาร์จ’ รุ่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ..หมายความว่ารุ่นที่เราใช้อาจจะหมด สต๊อกไปโดยปริยาย (การตลาดสุดโหด)

4.ปุ่มคีย์บอร์ด และหน้าจอ (Photo From lsc9.com)

บน Macbook เมื่อใช้ไปนานๆตัวอักษรอาจจะเลือนจางหายไปได้ เราอาจจะต้องหาสติกเกอร์มาช่วยหรือหา ‘ซิลิโคน’ ในการป้องกันอีกทีครับ แต่ละครั้งที่กดแป้นคีย์บอร์ด ไม่ควรกดด้วยความ ‘รุนแรง’ หรือมีการกระแทกอาจทำให้วงจรที่อยู่ใต้คีย์บอร์ดส่งค่าต่างๆรวนหรือมีปัญหาได้ครับ (ถ้าใครนอกจากใช้งานดีเจและ เล่นเกมส์ด้วยแนะนำให้ใช้ คอนโทรลเลอร์แยกออกมาต่างหากครับ)

การทำความสะอาดทั้งคีย์บอร์ดและหน้าจอคอม ใช้น้ำยาเช็ดตัวเดียวกันได้ครับ แต่ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้าจอโดยตรง ให้ใช้ผ้าสำหรับเช็ดพื้นผิวหน้าจอและน้ำยาที่ออกแบบมาเฉพาะทำความสะอาดหน้าจอเท่านั้นครับ!! ส่วนฝุ่นที่อยู่บนคีย์บอร์ดนั้นสามารถใช้แปรงทำความสะอาดได้ครับ หรือ ที่เป่าฝุ่นกระป๋อง หรือที่ดูดฝุ่นอาจเอาสิ่งสกปรกออกได้บางส่วน ต้องระวังการทานอาหารและมีเศษอาหารตกลงไปบนคีย์บอร์ดขณะที่เราทำงานอยู่ด้วยครับ!!

5.ช่องเสียบต่างๆ (Photo From Scottbw.files.wordpress.com)

ระวังเรื่อง ‘เขี้ยว’ เล็กๆในช่องเสียบด้วยนะครับ!! ที่อยากให้ระวังเป็นพิเศษก็คือเรื่องของช่องเสียบต่างๆ ถ้ามีการเสียบสายผิดช่อง อาจจะทำให้ ‘เขี้ยว’ หรือ ส่วนต่างๆที่สำคัญในช่องเสียบ เกิดการบิ่นหรือเสียหายทำให้ช่องนั้นไม่สามารถใช้งานได้

6.แก้เครื่องค้างอย่างถูกวิธี

สำหรับคนที่ใช้ Mac ยอมจะรู้จัก 'เจ้าบอลชายหาด' หรือ 'Spinning Pinwheel' กันไปอย่างดี บางทีก็มาเร็วไปเร็ว หรือบางทีก็อยู่กันนานหน่อย และถ้าแย่สุดๆ ก็หมุนกันแบบไม่มีวันหยุด ซึ่งนั้นแหล่ะครับ แปลว่าเคื่องเราค้างซะแล้ว!! ซึ่งถ้ามีปัญหาเครื่องค้างนั้น อย่าพยายามถอดปลั๊กหรือกดปุ่ม Power ค้างเพื่อรีสตาร์ในทันที!! ควรจะหาสาเหตุเบื้องต้นของอาการแฮงค์ก่อน เพราะกรณีที่หยุดเครื่องทันทีอาจจะเปิดปัญหาในระบบเก็บข้อมูลหรือ Harddisk เสียได้เลยทีเดียว!!

7.อัพเดทอยู่เสมอ (Photo From Osxdaily.com)

นอกจากปัญหาภายนอกแล้วเราควรจะหมั่นอัพเดตซอฟท์แวร์ภายในเครื่องด้วยครับ ทำได้ง่ายเลยโดยไปที่ปุ่มรูปแอปเปิลมุมซ้ายบนของหน้าจอ และเลือก Software Update นอกจาก Software ของระบบแล้วเราต้องคอยตรวจสอบ ซอฟท์แวร์ตัวอื่นๆด้วยว่าอัพเดตเป็นเวอร์ช่นล่าสุดหรือยังครับ

8.แบ๊คอัพตลอดๆ (Photo From Fosketts.net)

ท้ายสุดคงหนีไม่พ้นการทำ Backup File โดยใช้ Function Time Machine preferences โดยสามารถนำระบบBackup โดยนำ External ขนาด 1 TB มาต่อเข้ากับเครื่องและเลือกใช้ฟังค์ชั่นดังกล่าวครับทำเดือนละครั้งก็จะได้ข้อมูลที่อัพเดตครับ

9.ตรวจเช็คสภาพของ Hard Disk

สิ่งที่ควรทำเป็นประจำไม่แพ้กันครับ วิธีเช็คนั้นง่ายมากครับ โดยเข้าไปที่ Application > Utilities > Disk Utilities แล้วเลือก First Aid ครับ ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นเราควรทำการ ‘Recovery Partition’ ใหม่ครับ โดยการนำไฟล์ที่เรา BackUp ไว้กลับมาใช้ครับ

10.อย่าลืมเช็ค ‘อายุแบต’ ด้วยนะ

เช็คอายุของ Battery โดยเข้าไปที่ปุ่ม Apple มุมซ้ายบน เลือก About This Mac ไปที่ System Report ดูหัวข้อ Hardware > Power เราจะเห็น ค่าของ Battery Cycle พร้อม Status บอกเอาไว้ครับ ว่าถึงเวลาที่ควรจะเปลี่ยนหรือยังครับ

ทั้ง 10 วิธีนี้เป็นแค่ขั้นตอนดูแลเครื่องเบื้องต้นเท่านั้นครับ..ถ้าลองอ่านบทความแล้วอย่าลืมไปลองปฎิบัติตามดูล่ะ เพื่อให้เครื่อง Mac คู่ใจอยู่กับเราไปได้นานๆ..ส่วนใครมีเทคนิคอื่นๆ ทิปดีๆในการดูแลรักษาเครื่องก็แนะนำเข้ามาให้เพื่อนๆอ่านกันได้นะครับ.. ขอบคุณที่ติดตามมาจนจบครับ

--- ข้อมูลจาก Cnet.com และ Er.com เรียบเรียงโดย Choco Beat ---

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page