top of page

10 เรื่อง..ไม่ควรพลาด สำหรับมิวสิคโปรดิวเซอร์


บอกได้เลยว่าการทำเพลงในปัจุบันนี้เป็นเรื่องที่สนุกและท้าทายจินตนาการทางด้านเสียงเป็นอย่างมาก แต่ในการทำงานที่เป็นโปรเจคหรือการทำเพลงเต็มอัลบั้มบางครั้งก็ทำให้ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการที่จะทำงานกับอุปกรณ์แต่ละตัวในสตูดิโอของเราให้ผลงานออกมาดีที่สุด วันนี้อินเอียบีทมี 10 วิธีที่จะช่วยให้การทำงานในห้องสตูดิโอของเราทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้งานนั้นง่ายขึ้น คล่องตัวขึ้นมาแนะนำกันครับ

1. จัดเก็บตัวอย่างเสียงหรือแซมเปิล(Sample) ให้เป็นที่เป็นทาง

ถึงแม้ว่าจะต้องแลกมาด้วยเวลาอันมหาศาลในการจัดหมวดหมู่ตัวอย่างเสียง(Sample) และต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก แต่เมื่อเราทำมันเสร็จ เราจะพบความสุขที่สุดในชีวิตของคนทำเพลง เราอาจจะมีเสียงเป็นล้านเสียงแต่เอาเข้าจริงแล้วเราทำมันหายหรือลืมไปเกือบครึ่ง เวลาใช้จริงใช้แค่ส่วนหนึ่งที่เรารู้ว่าอยู่ตรงไหนเท่านั้นเอง ใช้เวลาไปกับการจัดหมวดหมู่เพื่อให้การค้นหาเวลาต้องการทำได้ง่ายขึ้น วิธีนี้จะช่วยให้การคัดเลือก เสียงไปใช้ในเพลงทำได้คล่องตัว โดยไม่ต้องไปเสียเวลาเข้าไปค้นหาหลายๆโฟลเดอร์ ส่วนวิธีการจัดหมวดหมู่นั้น ขึ้นอยู่กับเราแต่ละคนเลย เราอาจะจัดตาม BPM / Root Key/ Genre / Instrument Type หรือตามประเภทของแหล่งที่มาก็ได้ครับ ไม่ว่าจะแบ่งตามหมวดหมู่ย่อยขนาดไหนสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ คีย์ ”

** คำเตือน: พยายามเซฟเสียงเอาไว้ในโปรเจคที่เราสร้างไว้นะครับ เวลาเราทำการเคลื่อนย้ายโปรเจคเสียงที่เราเลือกและเซฟไว้จะได้ย้ายไปด้วยกัน ถึงแม้ว่าเราจะเผลอย้ายที่เก็บเสียง จะได้ไม่ปกระทบกับโปรเจคของเราครับ **

2.สร้างแบบฟอร์มเทมเพลต(Templates) สำหรับงานโครงสร้างเดิม..แต่ออกมาหลากหลาย

ส่วนใหญ่คนทำเพลงอย่างพวกเรามีจังหวะและเครื่องดนตรีที่เรามักจะใช้บ่อยๆ พยายามเซฟโปรเจคนั้นเอาไว้เป็นต้นแบบบ่อยๆ เวลาเราเริ่มโปรเจคทำเพลงใหม่ ให้นำต้นแบบนั้นมาใช้ครับ จะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานได้เยอะเลย

ตัวอย่างเช่น ปุ่มส่งค่า Reverb และ Delay เราสามารถเซ็ทไว้ก่อนได้เลย ส่วนเครื่องมือต่างๆที่เราใช้บ่อย สามารถไปเซ็ทเอาไว้ก่อนที่ใดก็ได้ที่เราถนัดและใกล้มือ พยายามนำเครื่องมือต่างๆที่เราต้องใช้เอามาไว้รวมกัน แล้วเซฟเก็บเอาไว้เป็นเทมเพลต รวมถึงฟิลเตอร์(Filter) และปลั๊กอิน(Plug-In)ต่างๆด้วยครับ

3.พยายามทำแบ็คอัพ(Back-Up)

เราทุกคนเคยมีปัญหาเรื่องฮาร์ดดิสก์เสียกันมาแล้ว เรารู้ถึงความเจ็บปวดเวลาเราสูญเสียข้อมูลสำคัญสำคัญ ส่วนใหญ่มักจะไม่สามารถกู้กลับมาได้ และเรามักจะเจอคำถามตอกย้ำให้เราเจ็บชำว่า “คุณได้แบ็คอัพข้อมูลไว้บ้างมั้ย??” สำหรับคนที่ใช้ Mac อาจจะง่ายหน่อยเนื่องจากแอปเปิลมี Time Machineและ iCloud มาช่วยซึ่งโปรแกรมดังกล่าวถูกติดตั้งมาบน OS X เลยส่วนผู้ใช่Windows ก็อาจจะต้องหาโปรแกรมช่วยอย่าง Gobbler ที่ออกแบบมาสำหรับ Backup Audio Project หรือ Backblaze สำหรับการแบ๊คอัพอัติโนมัติเวลาที่ มีการเสียบ External Harddisk กับตัวเครื่องครับ

4.จัดห้องสตูดิโอและอุปกรณ์ทำเพลงของเราให้เข้าที่เข้าทาง

การทำงานในห้องที่รกๆสกปรก ลำโพงไปทาง คีย์บอร์ดไปทาง เป็นสิ่งที่ทำให้หัวสมองที่ใช้ในการสร้างสรรค์ไม่ค่อยโล่งกับการเปิดรับไอเดียใหม่ๆ อาจจะมึนได้ เรามาจัดห้องสตูดิโอทำเพลงสุดรักของเราใหม่กันดีกว่าครับ เริ่มจากเก้าอี้ดูดวิญญาณ หรือเก้าอี้ทำเพลงของเรา ว่ามันเหมาะกับร่างกายและทิศทางในการนั่งของเรามั้ย เนื่องจากว่าเราจะต้องนั่งบนเก้าอี้เป็นเวลานาน เป็นชั่วโมงๆ ลองมองดูว่าหน้าจอและมอนิเตอร์ได้องศาที่ดีพอหรือยัง ไฟที่อยู่ในห้องนั้นสว่างเพียงพอมั้ย เพราะนอกจากหูที่เราต้องใช้ทำเพลงแล้ว Music Technology ต้องใช้ดวงตาเพื่อทำงานด้วยครับ จะได้ถนอมสายตาไม่ต้องเพ่งนานๆ พยายามลดจุดที่เป็นแสงสะท้อนออกเพื่อถนอมสายตาของเราครับ

5.พยายามจัดห้องเพื่อให้เหมาะในการทำเพลง

ห้องที่ไม่มีเสียงสะท้อนเป็นห้องที่เหมาะในการทำเป็นห้องสตูดิโอ โดยปกติห้องสี่เหลี่ยมที่มีผนังเรียบมักจะส่งผลให้เกิดปัญหาในการสะท้อนของเสียง ถึงแม้ว่าเราจะใช้หูฟังในการทำเพลงก็ตาม แต่สุดท้ายเราก็ต้องใช้ Monitor เพื่อมาเช็คเพลงของเราอยู่ดี พยายามลืมสิ่งที่เราคุ้นเคยในการลดการสะท้อนเสียง เช่น การนำเอาที่แผงใส่ไข่กระดาษและใช้กาวติดไปที่ผนัง หรือใช้พรมแผ่นหนาปูพื้น สำหรับการลดค่าใช้จ่ายในการทำห้องสตูดิโอ เนื่องจาก ปัจุบันอคูสติกโฟมซับเสียง ราคาไม่สูง มีวางจำหน่ายให้เราได้เลือกใช้กันแล้วครับ เพื่อเพิ่มคุณภาพของห้องสตูดิโอ โดยรวมถือว่าจำเป็นครับ

ปัจุบันมีเทคโนโลยีออกมาเพื่อเอาไว้ตรวจสอบวัดค่าต่างๆในห้องสตูดิโอ ยกตัวอย่างเช่น IK Multimedia’s ARC System2 สามารถช่วยให้เรารู้จุดที่เป็นปัญหาของเสียงสะท้อนในห้องนั้นๆได้ และสามารถนำค่าไปปรับใช้กับโปรแกรมทำเพลงต่างๆได้เลยครับ

6. พยายามติดป้ายชื่อของอุปกรณ์และปุ่มต่างๆเอาไว้

ถึงแม้ว่าเราจะรู้ว่าปุ่มไหนทำอะไรได้ดีขนาดไหนก็ตาม ในบางครั้ง เราก็อาจจะลืมไปว่ามีวิธีการกดปุ่มคีย์บอร์ดที่สามารถลัดขั้นตอนต่างๆลงได้อีกเยอะ การหาป้ายมาติดในปุ่มกดต่างๆนั้นเป็นเรื่องที่ดี เราอาจจะติดป้ายชื่อว่าปุ่มไหนเป็น Shotkey เราอาจะหาเพียงแค่กระดาษกาวและเขียนมันลงไปตรงๆ หรืออาจจะเสียตังค์ซื้อ Sticker Shot Key สวยๆมาใช้งานกันก็ได้ครับ

7. พยายามใช้ชื่อและสีให้เป็นประโยชน์

ถ้าเรากำลังทำงานหลายโปรเจคอยู่อย่างต่อเนื่อง เราควรนำเรื่องชื่อและสีต่างๆมาใช้ เพื่อแยกงานในแต่ละโปรเจค พยายามตั้งชื่อ Track ให้เป็นชื่อเฉพาะในโปรเจคหนึ่ง หรือเลือกใช้สีที่เหมือนกันเพื่อระบุว่าเป็น Track ของโปรเจคนั้นๆครับ ซึ่งในเวลาที่เราทำงานจริงเราสามารถแบ่งแยกแต่ละโปรแจคได้อย่างง่ายและชัดเจนขึ้นครับ

8. พยายามจัดเก็บงานที่เสร็จแล้วและแยกเสียงไว้เฉพาะที่

หลังจากที่เราทำงานเสร็จแล้ว ก่อนที่เราจะจัดเก็บงาน ให้เราใช้เวลาอีกสักครึ่งชั่วโมง ในการนำ Track ต่างๆที่อยู่ในโปรเจคนั้น แยกออกมา แล้วตั้งชื่อใหม่ แล้วควรแยกไปจัดเก็บในตัวอย่างเสียงที่เราแยกเก็บตามหมวดหมู่ในหัวข้อที่1 เอาไว้ใช้ในครั้งหน้าเพื่อ เป็นตัวเริ่มต้นความคิดหรือไอเดีย เพื่อนำมาเป็นเสียงเริ่มต้นในโปรเจคใหม่ๆได้

9.พยายามใช้ช๊อตคีย์ให้เคยชิน

ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยได้ใช้ช๊อตคีย์ในการทำเพลง เราอาจจะสูญเสียเวลาในการทำงานเพลงอย่างมหาศาล เราพยายามอ่านคู่มือหรือมั่นถามอาจารย์สอนดนตรีของเรา ในการใช้งานช๊อตคีย์ต่างๆนี้ เมื่อเราใช้งานมันได้คล่อง ในการทำงานเราจะคล่องตัวและเซฟเวลาในการทำงานได้เยอะมากครับ

10.บริหารเวลาให้ลงตัว

สำหรับข้อสุดท้ายนี้ สำคัญมากเนื่องจากคนทำเพลงในยุคดิจิตอลอย่างพวกเรา มีสิ่งที่คอยกวนใจบนหน้าจออยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น Email เช็ค Status ของเพื่อนบน Facebook เปิดYoutube ค้นหาเพลงต่าง เช็ค แอปเปิลเพลย์ลิสต์ใน Apple Music หรือ นั่งเล่นเกมบนไอแพดเพลินไปหน่อย สิ่งทั้งหมดนี้เป็นข่าวร้ายในการผลิตงานเพลงครับ ถ้าเราเป็นคนใจไม่แข็งพอหรือห้ามตัวเองไม่ได้ ลองเอาโปรแกรมบล็อกมาช่วยดีกว่าครับ เช่น Freedom หรือ Anti-Social ก็ได้ครับ พยายามเซ็ทเป้าหมายเอาไว้พยายามบริหารเวลาให้ลงตัวในการทำโปรเจคหนี่งๆ ยกตัวอย่างเช่น เวลาในการทำพรีเซ็ต เราควรจะมี ไทม์เฟรม(Timeframe) เพื่อเอาไว้คอยเช็คเวลาในการทำงานจริงอยู่ตลอดครับ เพราะชีวิตจริงนั้นเวลาเป็นตัวแปรผันผลงานได้ดีที่สุดครับ

ลองนำเทคนิคทั้ง 10 ช้อนี้ไปลองใช้ดูนะครับ อาจจะได้ประโยชน์กันไม่มากก็น้อย ค่อยๆปรับใช้กันครับ ถ้าใครมีเทคนิคที่เอาไว้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำเพลงสามารถแชร์หรือให้คอมเมนท์กันได้ด้านล่างเลยครับ (CR.MusicRadar) เรียบเรียงโดย S.C.Beat

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page