top of page

สำคัญนะ Audio Interface !!!

สำหรับอุปกรณ์ในการทำเพลง และเล่นดีเจ ที่ขาดเสียไม่ได้เลย เราจะนึกถึง

1.คอมพิวเตอร์ 2.หูฟัง 3.คีย์บอร์ด 4.คอนโทรเลอร์ 5.ลำโพง มั้งนะ? 6.เออ....#@$%!#

ใครในหัวคิดแบบนี้บ้างครับ? จริงๆอุปกรณ์ ที่จะขาดเสียไม่ได้และสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในเรื่องของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มิวสิคคือ AUDIO INTERFACE “ออดิโอ อินเทอร์เฟส”

ROLAND SUPER UA

เราสามารถเรียกได้ 2แบบ ตามลักษณะ คือ

1. ถ้ามีลักษณะเป็นกล่องแยกมาเลยแบบนี้ เราจะเรียกว่า Audio Interface

2. ถ้าถูกนำไปติดตั้งในเครื่องต่างๆเช่น DJ MIXER หรือ Sequencer Machine เป็นต้น

เราจะเรียกว่า Sound Card เช่น DJ Mixer With Internal Sound Card เป็นต้น

ROLAND STUDIO-CAPTURE

แล้ว AUDIO INTERFACE มันคืออะไรกันละเนี้ย?

มันคือ "อุปกรณ์ประมวลผลเสียงแทนคอมพิวเตอร์" ทำหน้าที่รับสัญญาณและแปลงสัญญาณเข้าคอมพิวเตอร์ และทำหน้าที่แปลงสัญญาณออกจากคอมพิวเตอร์

แล้วประมวลผลเสียงยังไงละ?

กรณีบันทึกเสียง

1. สัญญาณอนาล็อกจากแหล่งเสียงเช่นInstrument วิ่งผ่านMicrophone วิ่งเข้า Line In ของ Audio interface

2. Audio Interface แปลงสัญญาณอนาล็อก เป็นดิจิตอล วิ่งเข้าคอมพิวเตอร์ผ่าน USB หรือพอร์ทอื่นๆ

คอมพิวเตอร์ประมวลผลและบันทึกเข้าระบบ ฮาร์ดดิสของคอม

3. คอมพิวเตอร์ประมวลผลส่งสัญญาณ ดิจิตอล ไปที่ Audio Interface แล้วตัวเครื่องประมวลผมแปลงสัญญาณ ดิจิตอล เป็นอนาล็อก แล้วส่งสัญญาณไปที่ Line Out แล้ววิ่งไปที่ลำโพงมอนิเตอร์

การส่งสัญญาณขณะบันทึกเสียง

INSTRUMENT > MICROPHONE > LINE IN > ANALOG SIGNAL > AUDIO INTERFACE > DIGITAL SIGNAL > COMPUTER

การส่งสัญญาณขณะเล่นเสียง

COMPUTER > DIGITAL SIGNAL > AUDIO INTERFACE > ANALOG SIGNAL > LINE OUT > SPEAKER MONITOR

การส่งสัญญาณจะเป็นประมาณนี้ครับ เพราะฉะนั้น ตัวย่อต่างๆ ที่เราเคยเห็นเช่น A/D, D/A คือ สัญญาณอนาล็อกไปดิจิตอล กับ สัญญาณดิจิตอลไปอนาล็อก นั้นเอง

โดยมีค่าการปรับแต่งความละเอียดของสัญญาณที่เราควรรู้คือ

ค่า Sample Rate

คือค่าความละเอียดของเสียงต่อวินาที ที่เราเล่นหรือบันทึก ยิ่งค่าสูงเท่าไหรหลายละเอียดเสียงยิ่งดีขึ้นเท่านั้น เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีให้เลือกดังนี้คือ 44,100Hz, 48,000Hz, 88,000Hz, 96,000Hz, 192,000Hz ค่ายิ่งสูงยิ่งละเอียดมาก รายละเอียดช่วงเสียงที่เล่นจะยิ่งกว้างขึ้น โดยเสียงที่บันทึกเข้ามาหรือเล่นออกไป จะเล่นตามค่าความละเอียดที่เราเลือกเลยไว้ เช่น

กรณีทำเพลง

กรณีใช้ปลั๊กอิน ปลั๊กอินเสียง ส่วนใหญ่ที่ออกมาใหม่ๆ ได้ถูกทำการบันทึกมาในค่าความละเอียดสูงสุด ณ ปัจจุบัน อยู่แล้ว แต่เราจะให้มันเล่นค่าไหนละ โดยตัวระบบจะทำการสวิตปลั๊กอินให้เล่นตามค่า Sample Rate ที่เราตั้งไว้ครับ ในที่นี้คือควรเลือกสูงสุดเท่าที่เราทำได้ หรือต่ำสุดก็ 96,000Hz กรณีทำเพลง หรือตั้งให้สูงที่สุดเท่าที่ตัว AUDIO INTERFACE จะสามารถทำได้ ทั้งนี้ค่ายิ่งสูง Ram ยิ่งทำงานหนัก แต่ได้ผลที่คุ้มค่าแน่นอนครับ อย่างแรกที่จะได้ยิน เราจะรู้สึกเสียงมันกว้างขึ้น และรายละเอียดชัดเจนขึ้นแน่นอน

กรณีเล่นดีเจ

อันนี้ขึ้นอยู่กับตัวไฟล์ที่เรานำมาเปิดครับ เช่นไฟล์ Master ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 44,100Hz 16Bit ถึงเราจะเปิดให้มากกว่านั้นก็ไม่ได้ช่วยให้เสียงดีขึ้นครับ มีแต่จะไปดึง Noise จากสัญญาณให้ขึ้นมากกว่าครับ สังเกตุได้จากเสียงจะเหมือนอุ่นขึ้นหรือหนา จริงๆมันเกิดจาก Noise ถูกดันขึ้นมาครับ แต่ถ้าไฟล์เพลงละเอียด ก็ปรับตามไฟล์ที่ใช้

RICHIE HAWTIN DJ SETUP

***กรณีทำเพลง ถ้าไฟล์เสียงที่นำมาใช้เป็น 44,100Hz แล้วเราต้องปรับค่า Sample Rate ให้สูงหรือควรเท่ากัน ?

คำตอบคือตั้งให้สูงไว้ก่อนครับ เพราะอย่างน้อยตัวปลั๊กอินต่างๆ จะได้ทำงานที่ค่าความละเอียดสูงๆได้ เช่น

ซาวย์ที่เลือกใช้มาแคบ แต่เข้าเอฟเฟก Reverb ที่ปรับให้กว้าง อย่างมากตัวปลั๊กอินก็ยังช่วยให้เสียงกว้างขึ้น ตามค่า Sample Rate ที่ตั้งไว้ครับ ดีกว่าเท่ากันแน่นอน เราคงอยากให้กว้างมาแคบ ดีกว่าแคบไปแคบนะครับ

ค่า Bit Rate

มันคือความละเอียดของความดังของตัว คลื่นเสียง ให้นึกถึงรอยหยักของกราฟเสียงก็ได้ครับ ยิ่ง Bit สูงเท่าไหรรอยหยักยิ่งเนียนและละเอียดขึ้นเท่านั้นครับโดยปัจจุบันจะมีตั้งแต่ 16Bit, 24Bit, 32Bit, 64Bit ขอเอาที่เครื่องส่วนใหญ่มีมาให้นะครับ โดยค่า16 Bit เป็นค่ามาตรฐานที่อุปกรณ์เล่นเสียงทั่วไปสามารถอ่านค่าไฟล์ได้ครับ เช่นเครื่องเล่น CD, เครื่องเล่นพกพา ต่างๆครับ แต่ในกรณีทำเพลงเราจะเลือกเป็น 24Bit ขึ้นไปครับ หรือให้ชัวก็เลือก 32Bit ไปเลยก็ได้ครับ สำคัญมากกรณีบันทึกเสียง เพราะมันคือค่าความคมชัดและรายละเอียดของคลื่นเสียงที่บันทึกครับ

ไม่ใช่ว่า Audio Interface ทุกตัวจะมีความละเอียดเท่ากันนะ!!!

ถ้าดูจากหน้ากล่องและสรรพคุณ เราจะเห็นได้ว่า ณ ปัจจุบัน Audio Interface จะสามารถเล่นค่าที่เท่ากันได้เกือบทุกตัว คือ สามารถเล่น Sample Rate ตั้งแต่ 44kHz-192kHz และ 16-32Bit ตัวเลขพวกนี้ไม่ได้บอกอะไรเลย บอกเพียงเครื่องมันสามารถเล่นได้นะในค่าเท่านี้ บันทึกได้นะในค่าเท่านี้ แต่!!! จะเล่นหรือบันทึกได้ใกล้เคียงความเป็นจริงหรือดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของตัว A/D CONVERTER บนตัวเครื่องแต่ละรุ่นเลยครับ จะสังเกตุได้ว่า ณ ปัจจุบันเราจะเห็นช่วงราคาของ Interface แต่ละรุ่นต่างกันมาก

คำถามว่าเราควรแคร์คุณภาพเสียงของแต่ละตัวไหม?

ถ้าให้เรียนตรงๆคือ ควรต้องแคร์เลยแหละ เพราะมันคือตัวกำหนดว่าเสียงจะดีไม่ดีเลยครับ ทั้งขั้นตอนการบันทึกเสียง และการเล่นเสียง เราอาจสังเกตุได้ว่าทำไมเพลงที่เราทำ กับเพลงระดับอินเตอร์เนชั่นเนล เสียงมันต่างกันเลย ของเขากว้าง และลึกมาก แต่ของเราแคบชัดแบบเเข็งๆบอกไม่ถูก เพราะอุปกรณ์ที่เลือกใช้ต่างกันครับ รวมทั้งตัวไฟล์เสียง แต่เราก็ยังพอสามารถทำให้ใกล้เคียงได้บ้างครับ เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับระดับการใช้งานของแต่ละท่านครับ หรือการเลือกไฟล์เสียงที่มีคุณภาพสูงสามารถช่วยได้ครับ และควรเลือกค่าความละเอียดที่สูงที่สุด หรือใครอยากเน้นอัดเสียงที่อยากให้ไพเราะชัดเจน คุณควรเลือก Audio Interface ที่ดีหน่อยครับ แต่ถ้าใครอัดเอาสนุกๆก็อาจจะเลือกตัวธรรมดาในราคาที่ไม่แพงมากครับ แต่คุณภาพ ก็ขึ้นอยู่กับราคาที่เราเลือกตามไปด้วยนะครับ

เพราะฉะนั้นคำถามที่ว่าใช้ AUDIO INTERFACE ตัวไหนก็เหมือนกัน

คำตอบคือ "ไม่จริงนะครับ"

TIPS

วิธีการเลือก Audio Interface เบื้องต้น ในส่วนของค่าความละเอียด และคาแลคเตอร์เสียง

Audio Interface ทุกตัวจะมีโทนเสียงที่ต่างกันนะครับ แล้วจะรู้ได้ไงละ ก็ง่ายเลย เสียบเล่นแล้วฟังเลยครับ เพียงคุณพกหูฟังที่คุ้นเคย เสียบเข้าช่อง Headphone ของ Audio Interface แล้วฟังเทียบเลย มั่นใจว่าเบื้องต้นคุณจะได้ยินคาแรคเตอร์ทั้งความชัดและความกว้าง ของแต่ละตัวแน่นอนครับ เบื้องต้นชอบโทนเสียงของตัวไหน ก็เลือกอันนั้นแหละครับ

แล้วในส่วนของจำนวนช่องLINE INและLINE OUTสำคัญแค่ไหนและควรมีกี่ช่อง?

LINE IN

อันนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละท่านเลย เช่นส่วนตัวผม มีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หลายตัว อยากจะเสียบค้างไว้ใช้ตอนทำเพลงได้เลย เช่น Synthesizer 2ตัว ตัวนึงเป็นStereo ตัวนึงเป็นMono ก็เท่ากับผมต้องใช้ LINE IN 3 ช่องและ ผมมี Drum Machine อีก 1ตัว เป็นStereo นั้นหมายถึง ผมต้องใช้ทั้งสิ้นรวมเป็น LINE IN 5 ช่องแล้ว นี้ยังไม่รวม Microphone หรืออุปกรณ์อื่นๆ อีกนะครับ ผมเลยเลือกใช้เป็น 8 INPUT ไปเลย คราวนี้ช่องเสียบจะมีความแตกต่างกันบ้างครับคือ

แบบแรกคือ LINE IN ทั่วไป สำหรับอุปกรณ์ที่มีภาคขยายเสียงของตัวเองเช่น คีย์บอร์ดซินธิไซเซอร์ เป็นต้น

แบบที่สองคือ LINE IN พร้อม MIC PREAMPS หรือมีระบบภาคขยายมาช่วย ใช้กับ CONDENSER MICROPHONE จะมีไฟเลี้ยง PHANTOM 48V มาให้เพื่อเลี้ยงไฟให้กับตัว MIC และมีตัวแอมส์ที่ช่วยขยายเสียงครับ ซึ้งสมัยก่อนต้องซื้อแยกครับ แต่เดี๋ยวนี้ติดมาให้ด้วยเพื่อความสะดวกครับ แต่คราวนี้แต่ละตัวจะให้ระบบ PREAMPS มาดีแค่ไหนก็ขึ้นกับความเก่งกาจของแต่ละยี่ห้อแล้วละครับ วิธีทดลองก็อัดเสียงจากไมค์ลงไปเลย

LINE OUT

อันนี้ถ้าให้แนะนำก็ให้เป็น 4 OUT ไว้ก่อนครับ เผื่อไว้ กรณีส่งสัญญาณไปข้างนอกและกลับเข้ามา หรือในกรณีเล่นดนตรีสด 1-2 ออกหูฟังเป็นเสียงเมโทรนอม 3-4 เสียงดนตรีออกลำโพง เป็นต้นครับ หรือใครเล่นดีเจ ช่อง 1-2 ยิงไปออกมิกส์ Deck A ส่วน ช่อง 3-4 ยิงไปออกมิกส์ Deck B ก็ได้ครับ หรือถ้าใครอยากยิงไปออก Analog Mixer เพื่อมิกส์บนบอร์ด ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนแทรคที่จะใช้ของแต่ละท่านเลยครับ

รูปแบบของสายสัญญาณแต่ละประเภท

เอาละครับอันนี้ก็เป็นเบื้องต้น เพื่อให้ทุกท่านมองเห็นภาพกันนะครับ เพื่อให้เห็นความสำคัญของเจ้าตัว

Audio Interface และให้เห็นว่าเจ้าตัวนี้มันสำคัญขนาดไหนครับ แต่หลักๆขอให้ขึ้นอยู่กับหลักการใช้งานพื้นฐานของแต่ละคนนะครับ ผมเชื่อว่าคุณจะได้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับตัวคุณและคุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายไปแน่นอน

บทความโดย

อาจารย์นับ อินเอียบีท

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page